ข่าวสารและบทความ

เปรียบเทียบชัด ๆ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า

เปรียบเทียบชัด ๆ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า

วัคซีนโควิด-19 ที่ได้นำมาฉีดในประเทศไทยแล้ว มี 2 ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค (Sinovac)? และ แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) แต่ข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ ของวัคซีน 2 ตัวนี้ ก็ยังคงมีมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลข้างเคียง ประสิทธิภาพ หรือการสร้างภูมิคุ้มกัน เจมาร์ทประกันภัย จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของทั้งสองวัคซีน มาให้พิจารณาเปรียบเทียบกันค่ะ

 

 

 

 

 

 

ความเป็นมา

 

ซิโนแวค (Sinovac) ซิโนแวค ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีเชื้อตาย (Inactivated vaccines) เกิดจากการเพาะเชื้อในแล็บ จากนั้นทำให้ตาย โดยยังมีซากเชื้ออยู่ เมื่อรับเข้าไปในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้าน จากนั้นหากเราติดเชื้อตัวที่ยังมีชีวิต ร่างกายก็จะรู้ว่าเป็นศัตรูของร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกันออกมาต่อต้าน ?

 

แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca) แอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector vaccines) พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้ว หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก มาตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ ส่งสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต

 

ซิโนแวค (Sinovac) เทคโนโลยีในการผลิต เป็นแบบที่เคยมีการใช้มาก่อนในวัคซีนตัวอื่น ๆ เช่น โปลิโอ ตับอักเสบเอ ทำให้มีความไว้วางใจในความปลอดภัยระยะยาว?

 

แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca) เป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังไม่แน่ใจว่าการมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่เป็นพาหะ (anti-vector antibody) จะลดทอนประสิทธิภาพในการฉีดครั้งต่อไปหรือไม่

 

 

 

ช่วงอายุ

 

ซิโนแวค (Sinovac)? / แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca) ใช้ในผู้ที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

ระยะเวลาในการฉีดเข็มที่สอง

 

ซิโนแวค (Sinovac) ระยะห่างระหว่างเข็ม 3 สัปดาห์

 

แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca)  ระยะห่างระหว่างเข็ม 10-12 สัปดาห์ และเว้นได้ 12 สัปดาห์

 

 

 

ประสิทธิภาพ

 

ซิโนแวค (Sinovac)

 

กระตุ้นภูมิคุ้มกันช้ากว่าแอสตร้าเซนเนก้า

เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ หลังจากเข็มที่หนึ่งได้ผล 50% ต้องรีบฉีดเข็มสองภายใน 2-4 สัปดาห์ก็จะได้เต็มประสิทธิภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca)

 

กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี รวดเร็ว เหมาะสำหรับพื้นที่ ที่กำลังมีการระบาด

ฉีดเข็มแรก 2 สัปดาห์ ก็ได้ผลเกือบเต็มที่ของวัคซีนแล้ว ดังนั้นภูมิที่ได้จากแอสตร้าเซนเนก้าจึงได้เร็วกว่าซิโนแวคหลังฉีดเข็มแรก

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลวิจัย

 

ซิโนแวค (Sinovac)

 

ประสิทธิภาพ จากการศึกษาในอาสาสมัครเฟสสามของประเทศบราซิล ได้ผลออกมา 50.7 % (ตามกำหนดของ WHO ต้องเกิน 50%)

เนื่องจากการศึกษามีน้อยกว่า การใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาทำให้การเก็บข้อมูลไม่เข้มแข็งเท่า จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา

ลดการป่วยรุนแรงได้ 100%

แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca)

 

ประสิทธิภาพ จากการศึกษาในเฟสสาม ได้ผลในการฉีดสองเข็มอยู่ที่ 62-70

มีการรับรองและยอมรับในประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา อาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่าในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น

ลดการป่วยรุนแรงได้ 100%

 

 

 

 

 

 

 

 

อาการข้างเคียง

 

ซิโนแวค (Sinovac)

 

พบผลข้างเคียงน้อย เนื่องจากใช้เชื้อที่ตายแล้ว

มีรายงานอาการข้างเคียง ซึ่งคล้ายอาการทางระบบประสาทที่เรียกว่า Immunization stress-related response (ISRR) ซึ่งพบในช่วงที่ระดมฉีดให้บุคลากรที่อายุน้อยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จึงทำให้เกิดความระแวงและไม่มั่นใจ

แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca)

 

พบผลข้างเคียงสูงกว่า เนื่องจากใช้เชื้อไม่ก่อโรคที่มีสารพันธุกรรมโควิดเข้าสู่ร่างกาย

สัมพันธ์กับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีน แต่พบน้อยประมาณ 1 ต่อแสน ถึง 1 ต่อล้านโดส

 

 

 

 

 

 

 

 

เหตุใดจึงพบผลข้างเคียงในคนหนุ่มสาว หรืออายุน้อย มากกว่าผู้สูงอายุ

 

แต่ละคนจะมีอาการเป็นไข้มากไข้น้อย เกิดจากการสร้างภูมิต่อต้านสิ่งแปลกปลอม เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย คนที่มีอาการมากแสดงว่า ร่างกายมีระบบป้องกันที่ค่อนข้างแข็งแรง มักเจอในคนหนุ่มสาวหรือคนอายุน้อย  ส่วนในผู้สูงอายุไม่ค่อยเจอ ทั้งนี้คนสูงอายุที่มีผลข้างเคียงน้อย ไม่ได้แปลว่ามีภูมิน้อย หรือไม่พอ ถ้าเราฉีดแล้วก็จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นมาเพียงพอที่จะป้องกันได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

 

ในส่วนของแอสตร้าเซนเนก้า การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หรือภาวะ VITT ย่อมาจาก Vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia คือถูกเหนี่ยวนำ ถูกกระตุ้นโดยวัคซีน เกิดลิ่มเลือด หรือเกล็ดเลือดต่ำ โดยตามข้อมูลของยุโรปที่มีการฉีดไปก่อนไทย เกิดขึ้น 1 ต่อ 110,000 คน แล้วแต่ละประเทศ โดยยิ่งอายุน้อยโอกาสเกิดจะสูงขึ้น ผู้หญิงเจอมากกว่าผู้ชาย คนอายุเกิน 55 หรือ 60 แทบไม่เคยเจอเลย ทั้งนี้ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร อายุรแพทย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่าปัจจุบันมียารักษา ไม่ต้องกังวล

 

 

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง (15 มิถุนายน 2564) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, https://siamrath.co.th/n/252851, www.bangkokbiznews.com/news/detail/943460, www.thairath.co.th/news/local/2113175, www.hfocus.org/content/2021/05/21707, https://thestandard.co/what-is-best-coronavirus-vaccine, www.thansettakij.com/content/covid_19/483958, https://news.trueid.net/detail/GYG39jK1A6OY, www.praram9.com/alternative-covid19-vaccine, www.thairath.co.th/news/society/2094411

 

 

 

จากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ จะเห็นได้ว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น ไม่ว่าจะเป็น แอสตร้าเซนเนก้า หรือ ซิโนแวค ก็สามารถลดการป่วยรุนแรง และลดการเสียชีวิตได้อย่างแน่นอน ส่วนสถิติของผลข้างเคียง หรือการแพ้ ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเปอร์เซนต์ที่น้อย

 

แต่หากคุณยังมีความกังวล อีกสิ่งที่จะช่วยให้คุณและครอบครัว อุ่นใจกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้มากขึ้น ก็คือ ประกันภัยแพ้วัคซีน - โควิด ซุปเปอร์คุ้ม นั่นเองค่ะ สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และปรึกษาเพื่อค้นหาประกันภัยที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ 02 099 0555 ต่อ 4262 ค่ะ

 

By JAYMART Content Team : RIYA