ข่าวสารและบทความ

วัคซีนโควิด-19 ใครฉีดได้ ใครไม่ควรฉีด

วัคซีนโควิด-19 ใครฉีดได้ ใครไม่ควรฉีด

สิ่งที่ยังคงเป็นความกังวลสำหรับผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อยู่ขณะนี้ก็คือ ผลข้างเคียง หรือการแพ้ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วย หรือผู้ที่อยู่ในภาวะที่ไม่ปกติต่าง ๆ เจมาร์ทประกันภัย ได้รวบรวมข้อมูล ว่าใครที่สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เลย หรือใครที่ยังไม่ควรฉีด พร้อมคำแนะนำที่สำคัญจากผู้เชี่ยวชาญมาฝากกันค่ะ

 

 

 

 

ผู้ที่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ทันที

 

ผู้ที่มีสุขภาพดีทั่วไป : ผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่จำเป็นต้องกังวลในการรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน : พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้หญิงที่มีประจำเดือน สามารถไปรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ทันที แต่ยกเว้นว่าจะต้องไม่ปวดท้องประจำเดือนมากเกินไป หรือต้องไม่ปวดท้องในระดับที่ผิดปกติ หรือจะเว้นระยะการมีระดูประมาณ 1-2 วัน จึงค่อยไปรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ก็ได้  

ผู้หญิงให้นมบุตร : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าส่วนประกอบที่อยู่ในวัคซีน จะมีโอกาสผ่านมาในน้ำนมน้อยมากหรือแทบจะวัดไม่ได้ ดังนั้นการให้นมบุตรจึงไม่ได้ถือเป็นข้อห้ามเด็ดขาด ที่จะให้วัคซีน และถ้าเราถึงกำหนดที่จะต้องให้วัคซีนโดยเฉพาะในแหล่งระบาด ก็ควรจะได้รับวัคซีน เพราะมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ผู้ที่ฉีดวัคซีนบาดทะยัก พิษสุนัขบ้า : กรมควบคุมโรคให้ข้อมูลไว้ว่า วัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสัตว์กัด หรือวัคซีนบาดทะยักเมื่อมีบาดแผล ให้ฉีดวัคซีนได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลา และในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้ฉีดวัคซีนทันทีที่ทำได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะห่าง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงซึ่งต้องคำนึงถึงมากกว่า

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ในภาวะคงที่ : ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ, โรคระบบทางเดินอาหารและตับ, โรคติดเชื้อเอชไอวี, โรคข้ออักเสบ และ โรคภูมิแพ้ตัวเอง, โรคสะเก็ดเงิน, ภาวะสมองเสื่อม, อัมพาต อัมพฤกษ์, โรคไตเรื้อรัง, ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง, โรคหิด/ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไขกระดูกฝ่อ, โรคไขกระดูกทำงานผิดปกติ, โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา และโรคมะเร็งอื่น ๆ

ผู้ป่วยที่ได้รับหรืออยู่ระหว่างได้รับการบำบัดยา : ได้แก่ เคมีบำบัด รังสีรักษา, การบำบัดทดแทนไต, ยากดภูมิคุ้มกันที่อาการของโรคสงบ, เลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดทุกชนิด, อิมมูโนโกลบูลินเข้าหลอดเลือดดำ, ยาสูดสเตียรอยด์, ยาควบคุมอาการของโรคต่าง ๆ

ผู้ป่วยที่เลือดออกง่าย : ได้แก่ ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด (aspirin, clopidogrel, cilostazol), ยาป้องกันเลือดแข็งตัวที่ไม่ใช่ยาวาร์ฟาธิน (dabigatan, ivaroxaban, apixaban, edoxaban) และยาวาร์ฟาริน (หากมีผลตรวจระดับการแข็งตัวของเลือด (INR) อยู่ในระดับต่ำกว่า 4.0 ภายใน 1 สัปดาห์ หรืออยู่ในระดับต่ำกว่า 3.0 มาโดยตลอด) รศ.(พิเศษ) พญ.อรอุมา ชติเนตรกล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องหยุดหรือปรับขนาดยาก่อนฉีดวัคซีน สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ได้ โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก หลังจากฉีดแล้วกดตำแหน่งที่ฉีดไว้นานประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจประคบด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็น

 

 

 

 

 

ผู้ที่ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

 

ผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ แต่ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่

 

ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งทางสูตินรีเวช : แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษาโรคมะเร็งในสตรีเป็นหลัก เพื่อให้ได้รับวัคซีนในระยะที่ร่างกาย มีความสมดุลและสมบูรณ์มากที่สุด และไม่กระทบต่อการรักษาโรคมะเร็งในสตรี

บุคคลที่มีประวัติแพ้ยาแอนาฟิแล็กซิสจากวัคซีนที่อื่นมาก่อน : แนะนำให้ตรวจสอบส่วนประกอบของวัคซีนที่ผู้ป่วยเคยแพ้ และฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ไม่มีส่วนประกอบนั้น

ผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการหรืออาการยังไม่เสถียร หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต : แนะนำให้รับวัคซีนโควิด-19 ทันที่หลังควบคุมอาการได้คงที่แล้ว หรือก่อนจำหน่ายกลับ

ผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง : แนะนำให้รอกระทั่งพ้นช่วงที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง แล้วรีบจัดให้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19

ผู้ป่วยโรคเลือดที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) หรือบำบัดภูมิคุ้มกัน CAR-T Cells : แนะนำให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เมื่อพ้น 3 เดือนหลังปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) บำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน CAR-T Cells

ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไต ตับ ปอด หัวใจ : แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เมื่อพ้น 3 เดือนหลังผ่าตัดหรือมีอาการคงที่แล้ว หรือพ้น 1 เดือน หลังได้รับการรักษาภาวะปฏิเสธอวัยวะ โดยให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อน

ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยแอนติบอดี หรือ ได้รับยาแอนติบอดี : แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ดังนี

      - ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เคยได้รับการบำบัดด้วยพลาสมา จากผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 พ้น 3 เดือน หลังได้รับการบำบัด

      - ผู้ป่วยที่ได้รับยา Rituximab พ้น 1 เดือน หลังรับยา Rituximab หรือก่อนได้รับ Rituximab ครั้งแรก อย่างน้อย 14 วัน

 

      - ผู้ป่วยที่ได้รับยาแอนติบอดีขนานอื่นๆ เช่น Omalizumab, Benralizumab, Dupilumab พ้น 7 วัน ก่อนหรือหลังได้รับยา

 

 

 

 

 

 

ผู้ที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือควรเลื่อนนัดออกไปก่อน (หรือ ให้ยึดตามแพทย์พิจารณา) 

 

ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี : นพ.ยง ภู่วรวรรณ กล่าวว่า เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 พัฒนาขึ้นมาอย่างเร่งด่วน จึงยังไม่มีการศึกษาใดในการให้วัคซีนในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี การขึ้นทะเบียนจึงยังให้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ขึ้นไป จนกว่าจะมีการศึกษาถึงผลการใช้ขนาดในเด็ก จึงจะมีการนำมาใช้ได้

ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ น้อยกว่า 12 สัปดาห์ : กรมอนามัยแนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนขึ้นไป และแนะนำให้ฉีดวัคซีน Sinovac ก่อน เนื่องจากผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว

ผู้ที่เจ็บป่วยเฉียบพลัน : ผู้ที่เป็นไข้ ถ่ายเหลว หรือเพิ่งออกจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่เกิน 2 สัปดาห์ หรือโรคเรื้อรังอาการไม่คงที่ ควรเลื่อนนัดออกไปก่อน

ผู้ที่พึ่งฉีดวัคซีนอื่นมา : ให้ฉีดวัคซีนห่างจากวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2-4 สัปดาห์ แต่วัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น เมื่อถูกสุนัขกัด ให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้เลย

 

 

ข้อมูลอ้างอิง : https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19, www.thaipost.net/main/detail/103166, www.bangkokbiznews.com/news/detail/941630, www.bangkokbiznews.com/news/detail/941668, www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2105726, www.025798899.com/news/2056, https://mgronline.com/qol/detail/9640000007364, https://news.thaipbs.or.th/content/304782, www.khaosod.co.th/special-stories/news_6397132

 

จากข้อมูลต่าง ๆ นี้ ก็จะทำให้เราเข้าใจสภาวะของแต่ละบุคคลมากขึ้น และมั่นใจในการฉีดโควิด-19 ได้มากขึ้น

 

แต่หากคุณยังมีความกังวล อีกสิ่งที่จะช่วยให้คุณและครอบครัว อุ่นใจกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้มากยิ่งขึ้น ก็คือ ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 พลัส นั่นเองค่ะ สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และปรึกษาเพื่อค้นหาประกันภัยที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ 02 099 0555 ต่อ 4262 ค่ะ

 

By JAYMART Content Team : RIYA