ข่าวสารและบทความ

ขั้นตอนทำใบขับขี่และต่อใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL

ขั้นตอนทำใบขับขี่และต่อใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL

เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้มีการประกาศเปิดให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถ วิถีใหม่ NEW NORMAL ภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างและความปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข ซึ่งหลายท่านอาจสงสัยว่า จะแตกต่างจากเดิมอย่างไร หรือต้องเตรียมตัวอย่างไร วันนี้ JAYMART ประกันภัย จึงได้นำขั้นตอนการเตรียมตัวไปทำใบขับขี่ และ การต่ออายุใบขับขี่ ในยุค NEW NORMAL อย่างละเอียด มาฝากกันค่ะ

 

 

 

สำหรับการขอมีใบขับขี่ใหม่ และ การต่อใบขับขี่ มี 3 ประเภทดังนี้ค่ะ

1. การขอใบขับขี่ใหม่ เมื่อทำแล้วจะได้ใบขับขี่แบบชนิดชั่วคราว

2. การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคล เปลี่ยนจากแบบชนิดชั่วคราว 2 ปี มาเป็นชนิด 5 ปี

3. การต่ออายุใบขับขี่รถส่วนบุคคล จากแบบชนิด 5 ปี เป็นชนิด 5 ปี

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนเข้าไปทำใบขับขี่ หรือต่อใบขับขี่

ผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการขอใบขับขี่ใหม่ หรือ ต่ออายุใบขับขี่ จะต้องจองคิวไว้ก่อน ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue  เพื่อเป็นการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ

 

 

 

การเตรียมตัวในวันไปทำใบขับขี่ หรือต่อใบขับขี่

นอกจากแต่งกายสุภาพตามปกติแล้ว ก่อนออกจากบ้านก็ควรวัดอุณหภูมิของร่างกายสักหน่อยว่าไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส และก่อนเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ จะต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาระยะห่าง และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้อย่าลืมพก ไอเทมสำคัญป้องกัน โควิด 19 ไปให้ครบด้วยนะคะ และที่สำคัญ เจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งฯ ย้ำมาว่า ขอให้พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ก่อนที่จะมา เพราะจะมีผลต่อการทดสอบสมรรถนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทดสอบค่าสายตา อาจทำให้อ่านค่าสีผิด หรือเกิดตาพร่ามัว รวมถึงในการสอบขับรถ ก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้

 

 

 

 

ภาพอ้างอิง : https://gecc.dlt.go.th:4448/web_booking/page/

 

ขั้นตอนการขอใบขับขี่ใหม่ และ การต่อใบขับขี่ 

ขั้นตอนการขอใบขับขี่ใหม่ เมื่อทำแล้วจะได้ใบขับขี่แบบชั่วคราว

 

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่ 

 

1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับใบขับขี่รถยนต์

    มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์  สำหรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ไม่เกิน 110 ซีซี

    มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สำหรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่จำกัดซีซี

2. มีความรู้ความสามารถในการขับรถ

3. มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

4. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้

5. ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ

6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน

7. ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว

8. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่

 

ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมหลักฐานประกอบคำขอ

 

1. บัตรประชาชนฉบับจริง  

2. ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน ที่แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน 

 

ขั้นตอนที่ 3 : จองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue 

 

ขั้นตอนที่ 4 : ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ ที่สำนักงานขนส่งฯ พร้อมจองคิวอบรม ทั้งนี้คุณมีทางเลือกที่จะไปอบรมและทดสอบ ที่โรงเรียนสอนขับรถที่ได้ทำ MOU ไว้กับกรมขนส่งฯ ได้ เมื่อผ่านการอบรมและทดสอบแล้ว ก็สามารถนำหลักฐานมาติดต่อเพื่อออกใบขับขี่ที่กรมขนส่งฯ ได้

 

ขั้นตอนที่ 5 : ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ประกอบไปด้วย

 

การทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ คือการทดสอบว่าตาของเราไม่บอดสีนั่นเอง

การทดสอบสายตาทางลึก ซึ่งเป็นความสามารถในการกะระยะวัตถุ กะระยะเวลาจอดรถหรือระยะห่างจากคันข้างนอก

การทดสอบสายตาทางกว้าง คือการทดสอบความสามารถในการมองตั้งแต่หางตาซ้ายจรดหางตาขวา

การทดสอบปฏิกิริยาเท้า เป็นการทดสอบความสามารถในการเบรก โดยจะมีสัญญาณไฟจราจร และเบรกจำลอง และให้แตะเบรกทันทีที่สัญญาณไฟเป็นสีแดง

ขั้นตอนที่ 6 : อบรม การอบรมจะใช้ระยะเวลา 5 ชั่วโมง โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎจรจาจร และการขับขี่อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จะนำไปใช้ในการทดสอบในขั้นตอนต่อไปค่ะ 

 

ขั้นตอนที่ 7 : ทดสอบข้อเขียนผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam) โดยข้อสอบจะมีทั้งหมด 50 ข้อ และต้องทำให้ถูกต้องถึง 45 ข้อ ดังนั้นหากทำผิดเกิน 5 ข้อก็จะสอบไม่ผ่าน และต้องกลับมาสอบใหม่ภายใน 90 วัน หากเลยกำหนด หรือยังสอบไม่ผ่าน ก็จะต้องจองคิวสอบใหม่ค่ะ

 

ขั้นตอนที่ 8 : ทดสอบขับรถ

 

การทดสอบขับรถยนต์จะมีท่าทดสอบ ดังนี้

ท่าที่ 1 การขับรถเดินหน้าและหยุดระเทียบทางเท้า

ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง

ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย

ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนทางลาด

ท่าที่ 5 การกลับรถ

ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก

ท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

 

การทดสอบขับรถจักรยานยนต์จะมีท่าทดสอบ ดังนี้

ท่าที่ 1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

ท่าที่ 2 การขับรถทางตัวบนทางแคบ

ท่าที่ 3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัว Z

ท่าที่ 4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัว S

ท่าที่ 5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

 

ขั้นตอนที่ 9 : ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบอนุญาต / จ่ายใบขับขี่

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคล เปลี่ยนจากแบบชนิดชั่วคราว 2 ปี มาเป็นชนิด 5 ปี

 

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่ 

1. ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

3. มีความรู้ความสามารถในการขับรถ

4. มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

5. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้

6. ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ

7. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน

8. ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว

9. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่

10. ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 6 เดือนแล้ว ได้แก่ 1. ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ในลักษณะกีดขวางการจราจร 2. ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น

 

ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมหลักฐานประกอบคำขอ

1. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

2. บัตรประชาชนฉบับจริง

3. ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน ที่แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน  

 

ขั้นตอนที่ 3 : จองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue  

 

ขั้นตอนที่ 4 :  ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ ที่สำนักงานขนส่งฯ

 

ขั้นตอนที่ 5 :  ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ประกอบไปด้วย

1. การทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ คือการทดสอบว่าตาของเราไม่บอดสีนั่นเอง

2. การทดสอบสายตาทางลึก ซึ่งเป็นความสามารถในการกะระยะวัตถุ กะระยะเวลาจอดรถหรือระยะห่างจากคันข้างนอก

3. การทดสอบสายตาทางกว้าง คือการทดสอบความสามารถในการมองตั้งแต่หางตาซ้ายจรดหางตาขวา

4. การทดสอบปฏิกิริยาเท้า เป็นการทดสอบความสามารถในการเบรก โดยจะมีสัญญาณไฟจราจร และเบรกจำลอง และให้แตะเบรกทันทีที่สัญญาณไฟเป็นสีแดง

 

ขั้นตอนที่ 6 : ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่

หมายเหตุ

กรณีที่ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องเพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน

กรณีที่ใบขับขี่ หมดอายุเกิน 3 ปี ต้องเพิ่มขั้นตอนการอบรม การสอบข้อเขียน และ ทดสอบขับรถ

 

 

 

 

ขั้นตอนการต่ออายุใบขับขี่รถส่วนบุคคล จากแบบชนิด 5 ปี มาเป็นชนิด 5 ปี

 

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่ 

1. เป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถบดถนน ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ หรือใบขับขี่รถชนิดอื่นอยู่เดิมแล้ว

2. ผู้ขอยังคงมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ถือใบขับขี่ชนิดนั้น ๆ

 

ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมหลักฐานประกอบคำขอ

1. ใบขับขี่เดิม หรือใบแทน

2. บัตรประชาชนฉบับจริง

 

ขั้นตอนที่ 3 : จองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue  

 

ขั้นตอนที่ 4 : อบรมออนไลน์ โดยเข้าไปที่ www.dlt-elearning.com และทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ในเว็บไซต์ โดยทางเจ้าหน้าที่กรมขนส่งฯได้แนะนำมาว่า จะต้องจองคิวล่วงหน้าในขั้นตอนที่ 3 ให้ได้ก่อน จึงค่อยอบรมออนไลน์ เพราะผลการอบรมมีอายุไม่เกิน 90 วันเท่านั้น โดยเมื่อได้ผลการอบรมแล้ว

จะต้องติดต่อสำนักงานขนส่งฯ เพื่อเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายและออกใบอนุญาตขับรถ ภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ผ่านการอบรม ทั้งนี้ คุณยังสามารถไปอบรมที่สำนักงานขนส่งฯ ได้ด้วยเช่นกัน แต่แนะนำให้อบรมออนไลน์ เพราะจะเป็นทางที่สะดวก รวดเร็ว และเหมาะสมอย่างยิ่งในยุค NEW NORMAL นี้

 

ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ ที่สำนักงานขนส่งฯ

 

ขั้นตอนที่ 6 : ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ประกอบไปด้วย

1. การทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ คือการทดสอบว่าตาของเราไม่บอดสีนั่นเอง

2. การทดสอบสายตาทางลึก ซึ่งเป็นความสามารถในการกะระยะวัตถุ กะระยะเวลาจอดรถหรือระยะห่างจากคันข้างนอก

3. การทดสอบสายตาทางกว้าง คือการทดสอบความสามารถในการมองตั้งแต่หางตาซ้ายจรดหางตาขวา

4. การทดสอบปฏิกิริยาเท้า เป็นการทดสอบความสามารถในการเบรก โดยจะมีสัญญาณไฟจราจร และเบรกจำลอง และให้แตะเบรกทันทีที่สัญญาณไฟเป็นสีแดง

 

ขั้นตอนที่ 7 : กรณีที่ไม่ได้อบรมออนไลน์มา จะต้อง เข้าอบรม 1 ชั่วโมง หากอบรมออนไลน์มาแล้ว ก็จะข้ามขั้นตอนนี้ไป

 

ขั้นตอนที่ 8 : ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่

 

หมายเหตุ :

-  กรณีที่ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องเพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน

-  กรณีที่ใบขับขี่ หมดอายุเกิน 3 ปี ต้องเพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน การสอบขับรถ และใบรับรองแพทย์

 

 

 

ดังนั้น สิ่งที่แตกต่างในการทำใบขับขี่และต่อใบขับขี่ในยุค NEW NORMAL ก็เห็นจะเป็นช่องทางลงทะเบียน จองคิวผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการทำใบขับขี่ใหม่ และนอกจากนี้ก็ยังมีการต่ออายุใบขับขี่ และการอบรมออนไลน์ สำหรับผู้ที่ต่ออายุใบขับขี่ จาก 5 ปี เป็น 5 ปี ที่ค่อนข้างสะดวกและประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงไปได้มาก อย่างไรก็ตาม เราก็ยังคงต้องเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานขนส่งฯ ก็อย่าลืมนำ ไอเทมสำคัญในยุค NEW NORMAL ไปด้วย และนอกจากนี้ อย่าลืมรักษาระยะห่าง และระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอนะคะ

 

 

ที่มา เว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก  

ขอบคุณข้อมูล จาก คุณลูกหว้า และ คุณวิจิตร แสนสมบัติ สำนักงานขนส่งฯ จังหวัดนนทบุรี

 

 

 

และแม้ว่าเราจะเตรียมตัวในยุค NEW NORMAL นี้ดีเพียงใดก็ตาม แต่เหตุการณ์ไม่คิดคิด ก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เราจึงควรหาตัวช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับตัวเองและครอบครัว ด้วยประกันภัยของ เจมาร์ทประกันภัย และอย่าลืมดูแลรถยนต์ของคุณด้วยประกันภัยรถยนต์ 3+ รายเดือน ของ JAYMART ประกันภัย สนใจติดต่อสอบถามปรึกษาประกันภัยที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ 02 099 0555 ต่อ 4262 หรือที่ ที่ LINE : @jaymartinsurance ค่ะ

 

 

By JAYMART Staff : RIYA