ข่าวสารและบทความ

15 วิธีรับมือกับยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก โรคร้ายช่วงหน้าฝน

15 วิธีรับมือกับยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก โรคร้ายช่วงหน้าฝน

15 วิธีรับมือกับยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก โรคร้ายช่วงหน้าฝน

หน้าฝนนี้นอกจากต้องระมัดระวังการเจ็บตัวจากอุบัติเหตุ แล้วยังต้องเตรียมรับมือกับยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ที่สามารถเป็นกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังและกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ดังนั้น เจมาร์ท ประกันภัย จึงขอแนะนำ 15 วิธีรับมือกับยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก โรคร้ายในช่วงหน้าฝน เพื่อดูแลคุณและทุกคนในครอบครัว

 

15 วิธีรับมือกับยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก โรคร้ายช่วงหน้าฝน

  1. ระมัดระวังดูแลตนเองหรือเด็กเล็กไม่ให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน  
  2. หากจำเป็นต้องไปตามพื้นที่เสี่ยงมียุง ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดกุม เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น
  3. พกสเปรย์ฉีดกันยุงหรือยาทากันยุงที่ปลอดภัยสำหรับร่างกายติดตัวไว้ เช่น สเปรย์ตะไคร้หอม ที่สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เมื่อสังเกตเห็นว่ามียุงในบริเวณที่เราไป หรือสามารถทายากันยุงหรือฉีดสเปรย์กันยุงตามตัวและเสื้อผ้าเพื่อป้องกันไว้ก่อนก็ได้ เมื่อคาดว่าจะต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงมียุง
  4. ใช้อุปกรณ์ป้องกันยุง เช่น มุ้งลวด เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงเข้าบ้าน นอกจากนี้เวลาเปิดปิดประตูหรือหน้าต่าง ให้ระมัดระวังอย่าให้ยุงเข้ามาในตัวบ้านได้
  5. อุปกรณ์ดักจับยุงหรือไม้ตียุงก็สามารถช่วยกำจัดยุงได้บ้าง แต่ทางที่ดีควรป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาภายในตัวบ้านแต่แรกจะดีกว่า เพราะแม้จะมีอุปกรณ์ช่วยจับยุงแต่ก็ยังมีโอกาสโดนยุงกัดได้อยู่ดี
  6. ใช้กลิ่นกันยุงวางไว้ในตัวบ้าน เช่น เจลตะไคร้หรือสารกันยุงอื่น ๆ ที่ปลอดภัย
  7. จุดยาจุดกันยุงชนิดขดวางไว้ที่บริเวณหน้าประตูบ้านที่เข้าออกประจำ หรือบริเวณหน้าต่างด้านนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาภายในบ้านได้
  8. หากมียุงในบ้านจำนวนมากและใช้ตัวช่วยอื่นไม่ได้ผล ให้ฉีดสเปรย์กำจัดยุงที่ปลอดภัย จากนั้นให้ปิดประตูและหน้าต่างไว้ประมาณ 20 นาที และอย่าเปิดภาชนะที่ใส่อาหารไว้ในพื้นที่ฉีดยากันยุง ให้พาคนและสัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้านจนกว่าจะหมดกลิ่นสเปรย์ และควรทำความสะอาดบ้านก่อนพาคนและสัตว์เลี้ยงกลับเข้ามา
  9. นอนในที่ที่ปลอดภัยจากยุงและหากจำเป็นต้องเปิดหน้าต่างนอน แม้จะมีมุ้งลวดกันไว้แต่ยุงก็อาจเล็ดลอดเข้ามาได้ จึงควรกางมุ้งป้องกันอีกทีหนึ่ง
  10. เก็บบ้านให้โปร่งโล่ง เพื่อให้ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลายเกาะพัก
  11. ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำดื่มให้มิดชิด รวมถึงปิดฝาภาชนะใส่น้ำในห้องน้ำ เช่น ตุ่มหรือถังเก็บน้ำ และควรหลีกเลี่ยงภาชนะที่มีสีดำหรือสีมืด ๆ 
  12. เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้านรวมถึงภาชนะหรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วทิ้งในถุงขยะ มัดปิดปากถุงให้สนิท และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง  
  13. สำรวจภายในบริเวณรอบบ้านให้ทั่ว ว่าไม่มีสิ่งที่เป็นแหล่งน้ำขัง ซึ่งจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เช่น แทงค์น้ำ กระป๋อง กระถาง อ่าง กะละมัง ภาชนะต่างๆ ฯลฯ โดยให้จับคว่ำหรือหาฝาปิด สิ่งใดไม่ใช้หรือชำรุดจนใช้ไม่ได้แล้วให้ทิ้งไป 
  14. จุดที่จำเป็นต้องใส่น้ำไว้ อย่างเช่น ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ให้ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำไว้
  15. เปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่ และหากมีบ่อน้ำหรืออ่างที่ปลูกต้นไม้ในบ้าน ให้หาปลาหางนกยูงมาใส่ไว้ เพื่อให้ปลาช่วยกินลูกน้ำ  

 

แม้ว่าเราจะป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่มากับหน้าฝนเป็นอย่างดีแล้ว แต่เหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ เจมาร์ท ประกันภัย ขอเป็นตัวช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับคุณและครอบครัวในช่วงหน้าฝนนี้ ด้วย ประกันภัยโรคจากยุง และ ประกันไข้เลือดออก ที่ให้ความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายวัน โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เจมาร์ท ประกันภัย 02 099 0555 ต่อ 4262 หรือที่ LINE : @jaymartinsurance ค่ะ

By JAYMART Staff : RIYA