ข่าวสารและบทความ

8 ข้อควรทำ ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

8 ข้อควรทำ ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

     แม้จะมีสถิติยืนยันว่าผลข้างเคียงหรืออาการแพ้จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้นเกิดขึ้นได้ในสัดส่วนที่ต่ำมาก แต่หลายท่านก็ยังมีความกังวลใจ เจมาร์ท ประกันภัย จึงได้รวบรวมข้อควรทำ ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่จะช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงหรือการแพ้ มาฝากกันค่ะ    

 

 

ข้อ 1 รับประทานอาหารตามปกติ ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น 
     ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่ต้องงดอาหารเหมือนเวลาไปเจาะเลือด และควรดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น โดยควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี หรือประมาณ 3-5 แก้ว (ยกเว้นผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการดื่มน้ำ หรือต้องควบคุมปริมาณน้ำ)   

 

 

ข้อ 2 พักผ่อนให้เพียงพอ งดออกกำลังกายหนัก
     ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดออกกำลังกายหนัก หรือยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และรักษาสุขภาพกายแข็งแรง เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ไม่เครียด เพื่อให้ความดันปกติ ไม่เสี่ยงเป็นลม หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ  

 

 

ข้อ 3 เลื่อนฉีดตามความจำเป็น 
ใครบ้างที่ควรเลื่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 
•    ผู้ที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มา ให้เว้นช่วงการฉีดวัคซีนให้ห่างกันประมาณ 1 เดือน
•    ผู้ที่มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปประมาณ 2 สัปดาห์
•    ผู้ที่มีประวัติติดเชื้อโควิด-19 ให้รอให้หายสนิท 3 เดือน ก่อนฉีดวัคซีน
•    ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด ให้เข้ารับการตรวจ และกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนฉีดวัคซีน
•    หญิงหลังคลอดที่ตั้งครรภ์ปกติ ระยะเวลาน้อยกว่า 6 สัปดาห์ และ หญิงหลังคลอดที่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษระยะเวลามากกว่า 6 สัปดาห์
•    ผู้ที่มีประวัติ การบาดเจ็บของศีรษะ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ในช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 
•    ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ที่ยังอาการไม่คงที่หรือควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดี ในช่วง 4 สัปดาห์  

 

 

ข้อ 4 ปรึกษาแพทย์ประจำตัว 
     ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ให้รับประทานยาตามปกติ ควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนรับการฉีดวัคซีน และแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดซักประวัติอีกครั้ง 

 

 

ข้อ 5 รับประทานยาประจำตัวตามปกติ
     ผู้ที่มีประวัติรับประทานยากลุ่มละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin หรือ warfarin ให้รับประทานยาตามปกติ ไม่ต้องหยุดยา และแจ้งเจ้าหน้าที่ เมื่อมาฉีดวัคซีน และหากมีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้วัคซีน ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ เมื่อมาฉีดวัคซีนเช่นกัน  

 

 

ข้อ 6 งดรับประทานยาบางชนิด 
     ผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิดที่สำคัญ นอกจากการแพ้เฉียบพลัน คือการจุดให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และมีผลต่อเนื่อง ทำให้เส้นเลือดหดตัว และลิ่มเลือด เป็นเหตุผลที่ต้องละเว้นยาที่มีผลทำให้เส้นเลือดหดตัว ดังนี้
-    กลุ่มยาไมเกรน : cafergot / avamigran /tofago แนะนำงดยา 5 วันก่อนฉีดวัคซีน
-    กลุ่มยาไมเกรน : tripan เช่น relpax แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน
-    กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า : SSRI เช่น fluoxetin, sertralin, escitalopram แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน
-    กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า : SNRI เช่น venlafaxine, duloxetine แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน
-    กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า : Tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline, nortriptyline, imipramineแนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน
-    กลุ่มยาลดน้ำมูก เช่น pseudoephedrine แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน
-    น้ำมันกัญชา, แผ่นแปะนิโคติน, อาหารเสริมและสมุนไพรต่าง ๆ แนะนำงดยา 3-5 วันก่อนฉีดวัคซีน
ทั้งนี้ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าสำหรับน้ำมันกัญชานั้น ผู้ป่วยที่ใช้อยู่แล้วเนื่องจากมีโรคประจำตัว ซึ่งมีพื้นฐานจากการอักเสบ น้ำมันกัญชาจะสามารถลดการอักเสบได้ ดังนั้นผู้ที่ใช้น้ำมันกัญชาอยู่แล้ว เช่น ของอาจารย์เดชา ของกรมการแพทย์แผนไทย ควรใช้ต่อโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณ 

 

 

ข้อ 7 งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  
     งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และ น้ำอัดลม

 

 

ข้อ 8 งดรับประทานยาคุมกำเนิด 
     สำหรับเรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิดก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น จริง ๆ แล้ว ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าจะทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน แต่การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้ ซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อยมากหรือเพียง 1 ใน 5,000 คน เท่านั้น 


     โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุรศักดิ์ อังสุวัฒนา หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ผู้หญิงที่ต้องการรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยังสามารถรับประทานยาคุมกำเนิดได้อยู่ ยกเว้นหากไม่สบายใจจะหยุดเองก็สามารถทำได้ แต่ต้องแน่ใจว่าระหว่างหยุดยาคุมกำเนิดจะไม่ตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อทารก 
 

     ทั้งนี้ แพทย์หญิงสิรยา กิติโยดม สูตินรีแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สูตินรีแพทย์ ได้ให้ข้อมูลและคำแนะนำคล้ายกันว่า บางประเทศในแถบยุโรปได้ออกมาเตือนให้ผู้หญิงที่รับประทานยาคุม งดการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่ายาคุมจะหมดเวลาออกฤทธิ์ ซึ่งกินระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น หากผู้ที่รับประทานยาคุมอยู่ แล้วรู้สึกไม่สบายใจ ก็ขอให้งดการฉีดวัคซีนไปก่อนได้ หรือถ้าหากอยากจะฉีดวัคซีน ก็อาจใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นแทนไปก่อน 

 

ข้อมูลอ้างอิง : www.dailynews.co.th/regional/846879, https://news.ch7.com/detail/489428,  www.thairath.co.th/news/local/northeast/2104180, www.synphaet.co.th/คำแนะนำการปฏิบัติตัว-ก่/  www.sanook.com/health/28625 www.innnews.co.th/news/news_112457, www.nakornthon.com, www.bangkokbiznews.com/news/detail/940391,  https://news.ch7.com/detail/489428, www.sanook.com/health/28817, www.thaipost.net/main/detail/104646, https://news.ch7.com/detail/489496

 

     และหากคุณยังมีความกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อีกสิ่งที่ควรทำ เพื่อจะช่วยให้คุณและครอบครัว อุ่นใจได้มากยิ่งขึ้น ก็คือการทำ ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 พลัส นั่นเองค่ะ สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และปรึกษาเพื่อค้นหาประกันภัยที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ 02 099 0555 ต่อ 7102 7103 และ 1112 ค่ะ
 

By JAYMART Content Team : RIYA